องค์การบริหารส่วนตำบลจาน

Jan Subdistrict Administrative Organization : Local Government

ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ


ออนไลน์ : 6

หัวข้อ :: ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ

ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลจาน



พันธกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลจาน
  
1.จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
2.ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชนโดยเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.ส่งเสริมการออกกำลังกาย การป้องกันและระงับโรคติดต่อ
4.ส่งเสริมด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.พัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ติดเชื้อเอดส์ตลอดจนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6.คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7.บริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
 
จุดมุ่งหมายการพัฒนา
1.ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2.ระบบเศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นและสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน
3.ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคติดต่อ
4.สตรี เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5.สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาทุกระดับอย่างทั่วถึง ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนมีความตระหนัก เห็นคุณค่าและร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
6.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่มีมลพิษ ไม่ถูกทำลาย ได้รับการดูแลรักษา
7.พัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร และการจัดการทั้งบุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ และหน่วยงาน อย่างต่อเนื่อง 

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กร

ตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. จำนวนถนน ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น
2. ประชาชนทุกครัวเรือนมีระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการทั่วถึง
3. ประชาชนมีระบบน้ำประปาเพื่ออุปโภค บริโภคที่มีมาตรฐานและคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. ประชาชนในพื้นที่มีการพัฒนาอาชีพและรายได้ที่มั่นคงขึ้น
2. ประชาชนในพื้นที่มีศักยภาพที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. ร้อยละของประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น
2. จำนวนโรคติดต่อหรือโรคระบาดลดลงหรือไม่มีเลย
3. ประชาชนมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันทางสังคม
4. ประชาชน เยาวชน ได้รับการส่งเสริมทางด้านกีฬา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. ร้อยละของประชาชนได้รับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้รับการจัดสวัสดิการอย่างทั่วถึง
2. ร้อยละของเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่ได้รับการช่วยเหลือ
3. ร้อยละของประชาชนทีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ร้อยละของประชาชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
5. ร้อยละของหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติ ได้รับการช่วยเหลือรวดเร็วทันตามความต้องการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. ร้อยละของประชาชนที่มีการศึกษาและได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. ร้อยละครัวเรือนที่มีปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเห็นคุณค่า ศิลปวัฒนธรรมและร่วมกันอนุรักษ์
3. ร้อยละของประชาชนที่รักษาศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. ร้อยละของประชาชนได้รับการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. ร้อยละของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการบำรุงรักษา
3. ร้อยละของป่าชุมชนที่เพิ่มขึ้น
4. ร้อยละของประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตร และการอุปโภค อย่างพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์
1. ร้อยละของพนักงานมีความสุขในการทำงาน
2. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานของ อบต.
3. ร้อยละของของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา

ค่าเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. จำนวนถนน ท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น
2. ประชาชนทุกครัวเรือนมีระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการทั่วถึง
3. ประชาชนมีระบบน้ำประปาเพื่ออุปโภค บริโภคที่มีมาตรฐานและคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
1. ประชาชนในพื้นที่มีการพัฒนาอาชีพและรายได้ที่มั่นคงขึ้น
2. ประชาชนในพื้นที่มีศักยภาพที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสาธารณสุข
1. ร้อยละของประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น
2. จำนวนโรคติดต่อหรือโรคระบาดลดลงหรือไม่มีเลย
3. ประชาชนมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันทางสังคม
4. ประชาชน เยาวชน ได้รับการส่งเสริมทางด้านกีฬา
 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
1. ร้อยละของประชาชนได้รับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้รับการจัดสวัสดิการอย่างทั่วถึง
2. ร้อยละของเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการที่ได้รับการช่วยเหลือ
3. ร้อยละของประชาชนทีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ร้อยละของประชาชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
5. ร้อยละของหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบภัยพิบัติ ได้รับการช่วยเหลือรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. ร้อยละของประชาชนที่มีการศึกษาและได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. ร้อยละครัวเรือนที่มีปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมเห็นคุณค่า ศิลปวัฒนธรรมและร่วมกันอนุรักษ์
3. ร้อยละของประชาชนที่รักษาศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
1. ร้อยละของประชาชนได้รับการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. ร้อยละของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการบำรุงรักษา
3. ร้อยละของป่าชุมชนที่เพิ่มขึ้น
4. ร้อยละของประชาชนมีน้ำใช้ในการเกษตร และการอุปโภค อย่างพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กร
1. ร้อยละของพนักงานมีความสุขในการทำงาน
2. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการดำเนินงานของ อบต.
3. ร้อยละของของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา

กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่  1  :  การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
กลยุทธ์
1.  ก่อสร้าง/บูรณะ/ปรับปรุงถนน ระบบระบายน้ำ สะพาน
2.  พัฒนาระบบแหล่งน้ำ,ประปา
3.  การพัฒนาระบบจราจร
4.  การพัฒนาการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ ไฟฟ้าครัวเรือน และไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ตลอดจนบำรุงรักษาไฟฟ้าสาธารณะตามจุดต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่  2  :  การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
กลยุทธ์
1. การพัฒนารณรงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมการดำเนินการระบบเศรษฐกิจชุมชน
2. การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการผลิตการจัดการตลาดและสร้างเครือข่ายในการผลิต และจำหน่ายผลผลิตต่างๆ
3. การพัฒนาการส่งเสริมและจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อให้มีรายได้เสริมต่อจากอาชีพหลัก
4. การพัฒนาการจัดหา/ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายสินค้า
ยุทธศาสตร์ที่  3  :  การพัฒนาด้านสาธารณสุข
กลยุทธ์
1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักของประชาชนในการป้องกันระงับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
2. ส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา
3. ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงานร้านค้า ร้านขายอาหาร ให้ถูกสุขลักษณะ
5. พัฒนาคุณภาพบุคลากรและสถานบริการด้านสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่  4  :  การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมสวัสดิการและนันทนาการ
2. การส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันภัยจากอาชญากรรมและยาเสพติด
4. การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
5. อุดหนุนหน่วยงานอื่นๆ
ยุทธศาสตร์ที่  5  :  การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน
3. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา
4. ปรับปรุงและก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์
ยุทธศาสตร์ที่  6  : การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
กลยุทธ์
1. การอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. การก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาแหล่งน้ำ
3. การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน
4. การพัฒนาปลูกบำรุงรักษาต้นไม้
5. การพัฒนาการจัดระบบบำบัดน้ำเสียและจัดการขยะ
ยุทธศาสตร์ที่  7  : การพัฒนาด้านการบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธ์
1. จัดหาและพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
2. ปรับปรุงและพัฒนารายได้
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร
4. การพัฒนาปรับปรุงระบบทะเบียนเอกสาร
5. การพัฒนาการปรับปรุงสำนักงานและสถานที่ปฏิบัติงาน
6. การพัฒนาด้านการให้บริการประชาชน
 
วันที่ : 18 พฤศจิกายน 2562   View : 900